ความเป็นมาของโครงการ

เรื่องราวความเป็นมาของ One Bangkok

New landmark

เรื่องราวความเป็นมาของ One Bangkok

โครงการใหม่บนพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์ One Bangkok ร่วมบันทึกเรื่องราวใหม่ให้กับถนนพระราม 4 ที่มีความเป็นมายาวนาน ทั้งในด้านเกษตรกรรม พาณิชยกรรม การสื่อสาร และการทูตระหว่างประเทศ โดยผสมผสานเรื่องราวในอดีต ความหลากหลาย และวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน เพื่อสานต่อความรุ่งโรจน์ ตลอดจนสร้างสีสันและไลฟ์สไตล์ใหม่ให้กับกรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็นแลนด์มาร์คและความทรงจำอันน่าประทับใจของเมือง

ความเป็นมาของเรา

พ.ศ. 2400

ยุคการค้า

ในศตวรรษที่ 19 การค้าขายกับยุโรปได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจนกงสุลยุโรปในพระนครขอร้องในหลวงรัชกาลที่ 4 ให้ทรงสั่งขุดคลองลัดเพื่อเลี่ยงแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดเคี้ยว คลองใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า “คลองถนนตรง” หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าคลองหัวลำโพง ส่วนดินโคลนที่ขุดขึ้นมาระหว่างขุดคลองถูกนำมาใช้สร้างถนนเลียบคลองทางด้านทิศเหนือ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าถนนตรง อันเป็นที่มาของถนนสายแรกของไทย ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ. 2462 มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นถนนพระราม 4

พ.ศ. 2400-พ.ศ. 2436

จากทุ่งนาสู่สถานีรถไฟ

ที่ดินบริเวณนี้ได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรกว่าเป็นนาข้าวในพระบรมราชูปถัมภ์ แต่ยังไม่เคยมีชื่อเรียกขานมาจนกระทั่งปีพ.ศ. 2436 เมื่อมีการสร้างสถานีรถไฟที่มีหลังคาสีแดงมองเห็นได้อย่างเด่นชัด และมีการจัดตั้งตำบลอย่างเป็นทางการ แถวนี้จึงถูกเรียกว่า “ตำบลศาลาแดง” ซึ่งในภายหลังกลายเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถานทูตนานาชาติ และสถานีวิทยุกรุงเทพฯ

พ.ศ. 2436

ทางรถไฟสายแรก

ในระหว่างเสด็จประพาสยุโรป ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นว่าหากมีเส้นทางรถไฟจากบางกอกไปถึงสมุทรปราการจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของสยามได้อย่างมาก จึงมีรับสั่งให้ก่อสร้างรางรถไฟปากน้ำขึ้นเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย และเส้นทางระหว่างสถานีหัวลำโพงและสถานีปากน้ำเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2436 ต่อมาเมื่อรถโดยสารและรถยนต์ส่วนตัวกลายเป็นวิธีการเดินทางที่นิยมใช้กันทั่วไป การรถไฟจึงหยุดให้บริการเส้นทางนี้ในปีพ.ศ. 2502 และในที่สุดพื้นที่ส่วนนี้ได้กลายมาเป็นส่วนต่อขยายของถนนพระราม 4

พ.ศ. 2456-2471

สถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรก

สถานีวิทยุโทรเลขศาลาแดงเป็นสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 โดยรัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานข้อความส่งไปถึงสถานีในจังหวัดสงขลา มีใจความว่า “Greeting to you on this which will be one of the most important days in our history.” ต่อมาในปีพ.ศ. 2471 สถานีวิทยุศาลาแดงก็ประสบความสำเร็จในการออกอากาศทางวิทยุเป็นครั้งแรก ถือเป็นการเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ของการสื่อสารของประเทศไทย

พ.ศ. 2464

ถนนวิทยุ

สำหรับถนนวิทยุ (Wireless Road หรือ Witthaya Road) นั้น ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ถนนวิทยุ” เนื่องจากตัดผ่านสถานที่ตั้งของสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย โดยถนนสายนี้ทอดยาวจากถนนพระราม 4 ไปจนถึงถนนเพชรบุรี และก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2464

พ.ศ. 2469

สวนสาธารณะเพื่อประชาชน

“ทุ่งศาลาแดง” เดิมเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 6 ที่ทรงตั้งใจพระราชทานให้ใช้เป็นสถานที่จัดงานแสดงสินค้า “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” และใช้เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของพระนครในภายหลัง โดยตั้งชื่อขึ้นตามสวนลุมพินี ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ครั้งหนึ่งพื้นที่สวนลุมพินีเคยถูกนำมาจัดทำเป็นสวนสนุกที่มีการแสดงดนตรีสดและโชว์ต่างๆ สวนลุมพินีเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจยอดนิยมของชาวเมืองกรุงมายาวนาน นับตั้งแต่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการในปี พ.ศ. 2469

พ.ศ. 2504-2543

โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมโรงเรียนเตรียมทหารทั้งสามเหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยมีพันธกิจในการอบรมและเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเตรียมทหาร ทั้งด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นในการรับราชการทหารและตำรวจ โรงเรียนเตรียมทหารตั้งอยู่บนถนนพระราม 4 มาตั้งปีพ.ศ. 2504 ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่จังหวัดนครนายกในปีพ.ศ. 2543

พ.ศ. 2544-2554

สวนลุมไนท์บาซาร์

สวนลุมไนท์บาซาร์ เปิดให้บริการในปีพ.ศ. 2544 เป็นแหล่งรวมร้านของขวัญของฝาก เสื้อผ้า เครื่องประดับ และสินค้าแฮนด์เมด และเนื่องจากภายในโครงการมีร้านจำหน่ายอาหารหลากหลายประเภท มีคอนเสิร์ตฮอลล์ การแสดงสด รวมถึงการแสดงหุ่นกระบอกแบบไทย สวนลุมไนท์บาซาร์จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากทั้งนักท่องเที่ยวและชาวไทย

พ.ศ. 2400
พ.ศ. 2400-พ.ศ. 2436
พ.ศ. 2436
พ.ศ. 2456-2471
พ.ศ. 2464
พ.ศ. 2469
พ.ศ. 2504-2543
พ.ศ. 2544-2554

จากมรดกล้ำค่าสู่วิสัยทัศน์ใหม่

One Bangkok นำองค์ประกอบของย่านเมืองเก่า ทั้งตลาดกลางแจ้ง ตรอกเล็กตรอกน้อย และถนนที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้ข้างทางมาผสมผสานจนกลายเป็นศูนย์รวมธุรกิจ วัฒนธรรม และการใช้ชีวิตที่มีสีสัน มีความทันสมัยและมีความยั่งยืนมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองในศตวรรษที่ 21 ซึ่งโครงการนี้จะทำให้เห็นภาพอนาคตที่ดีกว่าของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงาน การใช้ชีวิต และการใช้เวลาว่างของผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง

แนวทางการออกแบบ

อภิมหาโปรเจกต์เช่นนี้จำเป็นต้องมีการวางแผน ออกแบบ และก่อสร้างที่พิถีพิถันมากที่สุด และ One Bangkok เป็นมากกว่าตึกสูงธรรมดาทั่วไป เนื่องจากมุ่งเน้นที่ความหลากหลายของสถาปัตยกรรมและรูปแบบการใช้งานพร้อมกับที่ยึดมั่นในแนวทางเพื่อความยั่งยืน ซึ่งการที่จะเป็นส่วนสำคัญของเมืองได้นั้น อาศัยทั้งการนำบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่นมาสอดผสานอย่างกลมกลืนกับมรดกของชาติไทยและเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร

พบกับมาตรฐานสูงสุดในการอยู่อาศัย

ชีวิตในเมืองยุคใหม่ที่ยั่งยืน

One Bangkok มีพื้นที่สีเขียวที่ปลอดภัยและน่าอยู่สำหรับทุกคน พื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งภายในโครงการถูกออกแบบให้เชื่อมถึงกันอย่างเป็นระบบระเบียบ มีลานกว้าง และพื้นที่เปิดโล่งที่เชิญชวนให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตกลางแจ้งมากขึ้น และทั่วทั้งโครงการมีระบบจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่ควบคุมจากส่วนกลาง ที่นำนวัตกรรมด้านความยั่งยืนมาผสมผสานให้เข้ากับการพัฒนาทางกายภาพ เพื่อให้ธุรกิจ ตลอดจนผู้มาเยือน คนทำงาน และผู้ที่พักอาศัยอยู่ในโครงการได้รับประโยชน์จากการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่สะอาด

ทีมงานคุณภาพระดับโลก

ขับเคลื่อนความสำเร็จของโครงการด้วยทีมงานมืออาชีพจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ ที่นำความรู้และความเชี่ยวชาญของคนไทยมารวมเข้ากับวิธีปฏิบัติและนวัตกรรมที่เป็นเลิศในระดับสากล

alt img